เมื่องานก่อสร้าง เกิดปัญหาเสาเข็มเยื้องศูนย์

การก่อสร้าง เมื่อเสาเข็มเยื้องศูนย์ 

การตรวจสอบเสาเข็มกลุ่มเยื้องศูนย์
   การทำเสาเข็มไม่ว่าจะเป็นเสาเข็มตอกหรือเสาเข็มเจาะเราคงหลีกเลี่ยงเสาเข็มเยื้องศูนย์ไม่ได้การตรวจสอบและแนวทางในการแก้ไขปัญหาเสาเข็มเยื้องศูนย์มีดังต่อไปนี้




1.    ตรวจสอบเสาเข็ม  ต้องคำนวณแรงปฎิกิริยาในเสาเข็มซึ่งของเดิมจะใช้ไม่ได้ แรงอัดในเสาเข็มอาจเปลี่ยนแปลงไปถ้ามีการเยื้องศูนย์ โมเมนต์ที่เกิดจากการเยื้องศูนย์อาจทำให้เสาเข็มแต่เดิมรับแรงอัดกลับกลายมาเป็นรับแรงดึง ต้องตรวจสอบ Dowel ของเสาเข็มว่ามีเพียงพอหรือไม่และตรวจสอบว่าแรงในเสาเข็มจะต้องไม่เกินน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยหรือไม่  การเยื้องศูนย์ของเสาเข็มอาจทำให้เกิดโมเมนต์ในเสาเข็มซึ่ง งานเสาเข็มตอกไม่สามารถรับโมเมนต์ได้ อาจจะต้องใส่เหล็กในเสาเข็มเพิ่มถ้าสามารถทำได้ หรือใช้วิธีกำจัดโมเมนต์ทิ้งไปโดยวิธีการตอกเสาเข็มแซมจะกล่าวต่อไป

2.   การคำนวณศูนย์ถ่วงของกลุ่มเสาเข็ม   เมื่อเสาเข็มเกิดการเยื้องศูนย์ ทำให้ CG ของกลุ่มเสาเข็มเปลียนไปต้องหาตำแหน่งของจุด CG ใหม่ เพราะว่าCg จะเป็นตัวบอกว่าการเยื้องศูนย์ดังกล่าวนั้น เยื้องไปมากหรือน้อยเพี่ยงใด         ตำแหน่งจดศูนย์ถ่วงของกลุ่มเสาเข็มหาได้จะกล่าวในโอกาสต่อไป 
3.   การหาแรงปฎิกิริยา ในเสาเข็ม   (รายละเอียดจะกล่าวไว้ในโอกาสต่อไป)     และ  เมื่อได้แรงปปฎิริยาในเสาเข็มแต่และต้นแล้วก็สามารถทราบถึงภาระในการรับนำหนักของเข็มที่เปลี่ยนไปจากเดิมและต้องไม่เกินน้ำหนักปลอดภัยของเข็มต้นนั้นๆด้วย

4.     ตรวจสอบ เสาตอม่อ เมื่อเกิดการเยื้องศูนย์ของเสาเข็มแล้ว โมเมนต์ที่เพิ่มขึ้นอาจจะดัดเสาตอม่อซึ่งต้องพิจารณาด้วยว่าตอม่อเดิมเหล็กรับโมเมนต์และแรงเฉือนเพียงพอหรือไม่ 

5.      ตรวจสอบฐานราก เมื่อเสาเข็มเยื้องศูนย์ ก็จะทำให้เกิดโมเมนต์ในฐานรากเพิ่มขึ้นด้วย ต้องตรวจสอบเหล็กเสริมในฐานรากว่าเพียงพอหรือไม่



  แนวทางการแก้ไขปัญหาเมื่อเกิดการเยื้องศุนย์ระหว่างจุดศูนย์ถ่วงของกลุ่มเสาเข็มและฐานราก

1.     การตอกเสาข็มแซม  หลักของการทำเสาเข็มแซม คือ พยายามให้จุดศูนย์ถ่วงของเสาเข็มอยู่ตรงกับตำแหน่งเสาตอม่อเพื่อป้องกันการเยื้องศูนย์ของเสาเข็ม ซึ่งอาจทำให้โมเมนต์ทั้งในฐานรากและตอม่อไม่ตรงตามที่ออกแบบไว้แต่เดิม อาจจะต้องเพิ่มปริมาณของฐานรากหรือเหล็กเสริมด้วย

2.  การหมุนฐานราก เป็นวิธีที่เปลี่ยนแกนของฐานราก เสาเข็มกลุ่มใหม่จะมีจุดศูนย์ถ่วงอยู่ตำแหน่งเสาตอม่อทำให้แรงปฎิริยาในเสาเข็มไม่เปลี่ยนแปลง แต่จะมีข้อเสียคือจะต้องใช้เสาเข็มใหม่แทนเข็มเก่าซึ่งสิ้นเปลือง
3.     การทำคานยึดรั้ง   เมื่อเกิดโมเมนต์ในฐานรากจะต้องกำจัดโมเมนต์โดยทำคานยึดรั้งหรือฐานรากร่วม ยึดไว้กับโครงสร้างด้านใน เพื่อทำลายโมเมนต์ที่เกิดขึ้
.........................................................................................................................................  
จัดทำบทความโดย: BUILDTHIAL .COM  
วิศวกรออกแบบ :    (Civil Design Engineer For Buildthai .com)
สงวนลิขสิทธิ์บทความ  ห้ามนำไปเผยแพร่ ก่อนได้รับอนุญาตจาก ;ก่อสร้างไทยดอท คอม
ความทั้งหมดในเว็บนี้ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 
ผู้ใดฝ่าฝืนถือว่าทำผิดกฏหมายฐานละเมิดลิขสิทธิ์และจะถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย